เมนู

ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิตกนี้ และด้วยวิจารนี้* ถึง
เนื้อความแม้ในคัมภีร์นั้น ก็พึงเห็นเหมือนอย่างนี้แหละ.
ในบทว่า วิเวกชํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ : - ความสงัด ชื่อว่า วิเวก.
อธิบายว่า ความปราศจากนิวรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่สงัดจากนิวรณ์
ชื่อว่า วิเวก เพราะอรรถว่า สงัดแล้ว, อธิบายว่า กองแห่งธรรมอันสัมปยุต
ด้วยฌาน. ปีติ และสุข เกิดจากวิเวกนั้น หรือเกิดในวิเวกนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า วิเวกชัง.

[อรรถาธิบายองค์ฌาน คือ ปีติ และสุข]


ในบทว่า ปีติสุขํ มีวินิจฉัยดังนี้ : - ธรรมชาติที่ชื่อว่า ปีติ เพราะ
อรรถว่า ทำให้เอิบอิ่ม. ปีตินั้น มีความปลาบปลื้มเป็นลักษณะ มีความอิ่ม
กายและจิตเป็นรส, อีกอย่างหนึ่ง มีความแผ่ไปเป็นรส มีความเบิกบานใจ
เป็นปัจจุปัฏฐาน. ความสบาย ชื่อว่า ความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่
ชื่อว่า ความสุข เพราะอรรถว่า ย่อมเคี้ยวกิน และขุดเสียด้วยดี ซึ่งอาพาธ
ทางกายและจิต. ความสุขนั้นมีความสำราญเป็นลักษณะ มีอันเข้าไปพอกพูน
ซึ่งธรรมที่สัมปยุตด้วยความสุขนั้นเป็นรส มีความอนุเคราะห์เป็นเครื่องปรากฏ.
ก็เมื่อความไม่พรากจากกันแห่งปีติและสุขเหล่านั้นในจิตตุปบาทลางขณะ
แม้มีอยู่ ปีติ คือ ความยินดีด้วยการได้อิฏฐารมณ์, สุข คือความเสวยรส
แห่งอารมณ์ที่ตนได้แล้ว. ปีติ มีอยู่ใจจิตตุปบาทใด สุข ก็มีอยู่ในจิตตุปบาท
นั้น. สุข มีอยู่ในจิตตุปบาทใด, ในจิตตุปบาทนั้น โดยความนิยม ไม่มีปีติ.
ปีติ ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นสังขารขันธ์, สุข ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นเวทนา-
ขันธ์, ปีติ เปรียบเหมือนความอิ่มใจ ของบุคคลผู้เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร
* อภิ. วิ. 35 / 347.

เพราะได้เห็นและได้ฟังว่ามีป่าไม้และมีน้ำ, สุข เปรียบเหมือนความสบายใจ
ของบุคคลผู้เหนื่อยในทางกันดาร เพราะได้เข้าไปสู่ร่มเงาแห่งป่าไม้
และได้บริโภคน้ำ ฉะนั้น, บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า ก็คำที่พระอาจารย์
ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า ปีติ คือ ความยินดีด้วยการได้อิฏฐารมณ์เป็นต้นนั้น
ก็เพราะปีติปรากฏอยู่ ในสมัยนั้น ๆ . ปีตินี้ด้วย สุขนี้ด้วย มีอยู่แก่ฌานนั้น
หรือมีอยู่ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น ฌานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ปีติสุขํ.
อีกอย่างหนึ่ง ปีติด้วย สุขด้วย ชื่อว่า ปีติและสุข เหมือนธรรม
และวินัยเป็นต้นฉะนั้น. ปีติและสุข เกิดแต่วิเวก มีอยู่แก่ฌานนั้น หรือมีอยู่
ในฌานนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าปีติและสุข เกิดแต่วิเวก แม้ดังพรรณนา
มาฉะนี้. เหมือนอย่างว่า ฌานเกิดแต่วิเวกฉันใด, ก็ในฌานนี้ ปีติและสุข
ย่อมเป็นของเกิดแต่วิเวกเหมือนกันฉันนั้น. อนึ่ง ปีติและสุขนั้น มีอยู่แก่
ฌานนั้น เพราะเหตุ1 ดังนี้นั้น จะกล่าวรวมด้วยบทเดียวกันเลยว่า วิเวกช-
ปีติสุขํ ดังนี้บ้าง ก็ใช้ได้. แต่ในคัมภีร์วิภังค์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ปีติสุขนั่นไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า สุขนี้ สหรคตด้วยปีตินี้2 ดังนี้. ก็เนื้อความ
แม้ในคัมภีร์วิภังค์นั้น พึงเห็นเหมือนอย่างนี้แล.

[ฌานย่อมเผาผลาญธรรมที่เป็นข้าศึก]


บทว่า ปฐมํ คือที่แรก เพราะเป็นลำดับแห่งการคำนวณ.
ฌานนี้ ชื่อว่า ทีแรก เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งแรก.
คุณธรรม ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เผาธรรมที่เป็นข้าศึก (มีนิวรณ์
1. วิสุทธิมรรค. 1 / 185 ไม่มี อิติ. 2. อภิ. วิ. 35 / 349.